วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

สิ่งพิมพ์ที่ได้รับรางวัล วิเคราะห์และอธิบายหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์

                

        สมาคมการพิมพ์ไทย ประกาศความสำเร็จของผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ทั่วประเทศ รับรางวัล 29 ประเภทสิ่งพิมพ์ยอดเยี่ยม ภายใต้แนวความคิดการผสานความคิดสร้างสรรค์กับคุณภาพสิ่งพิมพ์อันยอดเยี่ยม "เสริมแรงบันดาลใจจากความคิดสร้างสรรค์ มุ่งสู่คุณภาพอันยอดเยี่ยมจากงานพิมพ์ฝีมือคนไทย พร้อมก้าวสู่ศูนย์กลางการพิมพ์แห่งภูมิภาคอาเซียน" 
  
     ในการประกาศผลการตัดสินการประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ครั้งที่ 6 Thai Print Awards 6th  ที่โรงแรมเซนทารา - เซ็นทรัลเวิล์ด ราชประสงค์ จัดโดยสมาคมการพิมพ์ไทย เมื่อค่ำวันที่ 16 กันยายน 2554 




          โฟโต้บุ้ค จาก บริษัท อิมเมจ ควอลิตี้ แล็บได้รับรางวัล Golden Awards
และยังได้รางวัลประเภทอื่นๆในกลุ่ม การพิมพ์ดิจิตอล  Digital Printing - Digital Offset นอกจากนี้      ยังได้รางวัลยอดเยี่ยม BEST IN DIGITAL PRINTING ในกลุ่มการพิมพ์ดิจิตอล




       บริษัท อิมเมจ ควอลิตี้ แล็บ จำจัด หรือที่รู้จักกันในนาม ไอคิวแล็บ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรีญทอง  Award จากผลงานประเภทปฏิทิน และหนังสือภาพ โฟโต้บุ้ค Calendars & Photo Books สาขา Digital Printing  งาน Photo Books ของบริษัทนี้ ถือว่าเป็นงานที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า เพราะไอ คิว แล็บ เป็นแล็บ แรกของไทยที่ลงทุนสู่มาตรฐานใหม่ของโลก ด้วยระบบการจัดการสี หรือ  Color Management System  ( CMS )  ที่สามารถควบคุมสีของไฟล์ภาพในโลกดิจิตอล  จากสแกนเนอร์สู่จอมอนิเตอร์และงานภาพพิมพ์ทุกชนิด  พร้อมทั้งยังมีเครื่องสแกนเนอร์ที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก Dusrt  Sigma สามารถสแกนฟิล์มทุกชนิด ตั้งแต่ฟิล์มสไลด์สี ฟิล์มเนกาตีฟขาวดำ และฟิล์มเนกาตีฟสี ได้ไฟล์ขนาดใหญ่ 300 MB เป็นบริษัทที่มีอุปกรณ์ครบครัน งานที่ออกมาจึงมีคุณภาพสุ่มาตรฐานโลก
        
       การออกแบบผลงานหรือชิ้นงานนั้น พูดกันตรงๆคือ ถ้ารูปที่ถายมาสวย ดูดี ไม่มีแบบที่ตายตัว นำมาจัดรูปเล่มเป็น photo books ก็ย่อมที่จะมีความสวยของมันเองในชิ้นงานรูปภาพนั้น การลำดับเรื่องราว การจัดเรียงถือว่าเป็นที่น่าพอใจ จากภาพสู่เรื่องราวลงหนังสือ เป็นงานที่ให้อารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ไม่ต้องมีคำบบรรยายใต้ภาพ เพียงแค่เปิดออกดู ผู้บริโภคก็สามารถได้รับกลิ่นอายของ Photo Books เล่มนั้นแล้ว รูปภาพที่ถ่ายสื่อออกมานั้นมีความหมายในตัวเอง ผู้ผลิตเพียงแค่นำมาจัดเรียกให้เป็นเรื่องราวและจัดทำขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบองค์รวมจึงสำเร็จเป็นชิ้นงานที่ได้รับรางวัลนั้นเอง




ตัวอย่าง ผลงานที่ได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ   (รูปภาพจากฟูจิซีร็อก PIXI รางวัล 2011)





















1 ความคิดเห็น: