วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

สิ่งพิมพ์ที่ได้รับรางวัล วิเคราะห์และอธิบายหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์

                

        สมาคมการพิมพ์ไทย ประกาศความสำเร็จของผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ทั่วประเทศ รับรางวัล 29 ประเภทสิ่งพิมพ์ยอดเยี่ยม ภายใต้แนวความคิดการผสานความคิดสร้างสรรค์กับคุณภาพสิ่งพิมพ์อันยอดเยี่ยม "เสริมแรงบันดาลใจจากความคิดสร้างสรรค์ มุ่งสู่คุณภาพอันยอดเยี่ยมจากงานพิมพ์ฝีมือคนไทย พร้อมก้าวสู่ศูนย์กลางการพิมพ์แห่งภูมิภาคอาเซียน" 
  
     ในการประกาศผลการตัดสินการประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ครั้งที่ 6 Thai Print Awards 6th  ที่โรงแรมเซนทารา - เซ็นทรัลเวิล์ด ราชประสงค์ จัดโดยสมาคมการพิมพ์ไทย เมื่อค่ำวันที่ 16 กันยายน 2554 




          โฟโต้บุ้ค จาก บริษัท อิมเมจ ควอลิตี้ แล็บได้รับรางวัล Golden Awards
และยังได้รางวัลประเภทอื่นๆในกลุ่ม การพิมพ์ดิจิตอล  Digital Printing - Digital Offset นอกจากนี้      ยังได้รางวัลยอดเยี่ยม BEST IN DIGITAL PRINTING ในกลุ่มการพิมพ์ดิจิตอล




       บริษัท อิมเมจ ควอลิตี้ แล็บ จำจัด หรือที่รู้จักกันในนาม ไอคิวแล็บ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรีญทอง  Award จากผลงานประเภทปฏิทิน และหนังสือภาพ โฟโต้บุ้ค Calendars & Photo Books สาขา Digital Printing  งาน Photo Books ของบริษัทนี้ ถือว่าเป็นงานที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า เพราะไอ คิว แล็บ เป็นแล็บ แรกของไทยที่ลงทุนสู่มาตรฐานใหม่ของโลก ด้วยระบบการจัดการสี หรือ  Color Management System  ( CMS )  ที่สามารถควบคุมสีของไฟล์ภาพในโลกดิจิตอล  จากสแกนเนอร์สู่จอมอนิเตอร์และงานภาพพิมพ์ทุกชนิด  พร้อมทั้งยังมีเครื่องสแกนเนอร์ที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก Dusrt  Sigma สามารถสแกนฟิล์มทุกชนิด ตั้งแต่ฟิล์มสไลด์สี ฟิล์มเนกาตีฟขาวดำ และฟิล์มเนกาตีฟสี ได้ไฟล์ขนาดใหญ่ 300 MB เป็นบริษัทที่มีอุปกรณ์ครบครัน งานที่ออกมาจึงมีคุณภาพสุ่มาตรฐานโลก
        
       การออกแบบผลงานหรือชิ้นงานนั้น พูดกันตรงๆคือ ถ้ารูปที่ถายมาสวย ดูดี ไม่มีแบบที่ตายตัว นำมาจัดรูปเล่มเป็น photo books ก็ย่อมที่จะมีความสวยของมันเองในชิ้นงานรูปภาพนั้น การลำดับเรื่องราว การจัดเรียงถือว่าเป็นที่น่าพอใจ จากภาพสู่เรื่องราวลงหนังสือ เป็นงานที่ให้อารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ไม่ต้องมีคำบบรรยายใต้ภาพ เพียงแค่เปิดออกดู ผู้บริโภคก็สามารถได้รับกลิ่นอายของ Photo Books เล่มนั้นแล้ว รูปภาพที่ถ่ายสื่อออกมานั้นมีความหมายในตัวเอง ผู้ผลิตเพียงแค่นำมาจัดเรียกให้เป็นเรื่องราวและจัดทำขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบองค์รวมจึงสำเร็จเป็นชิ้นงานที่ได้รับรางวัลนั้นเอง




ตัวอย่าง ผลงานที่ได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ   (รูปภาพจากฟูจิซีร็อก PIXI รางวัล 2011)





















วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักการออกแบบและวิเคราะห์สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์ที่นิสิตเลือกคือ

Poster  นางนาก



ผู้กำกับ:  นนทรีย์ นิมิบุตร
นำแสดงโดย:  อินทิรา เจริญปุระ, วินัย ไกรบุตร, ปราโมทย์ สุขสถิตย์, พัชริญา นาคบุญชัย, บุญส่ง อยู่ยั่งยืน, ประชา ถาวรเฟีองจากภาพยนตร์สู่การออกแบบสื่อ 
         นางนาก เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองในการกำกับของ นนทรีย์ นิมิบุตร ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างงดงามจาก 2499 อันธพาลครองเมือง เมื่อ 2 ปีก่อน (พ.ศ. 2540) ซึ่งในเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน โดยที่เนื้อเรื่องก็คือเนื้อเรื่องของแม่นาคพระโขนงที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทว่า ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนรายละเอียดต่าง ๆ ที่เคยคุ้นเคยให้สมจริงมากที่สุด เช่น เรียกชื่อ     แม่นาค ว่า นางนาก มีเหตุการณ์สุริยคราสเป็นฉากเปิดเรื่อง หรือ ให้นางนากยืนกลับหัวบนขื่อ ตามความเชื่อที่เล่ากันมา เป็นต้น
มีการออกแบบ Poster ทั้งหมด 3 ชิ้น


Posterที่นิสิตเลือกคือ ชิ้นนี้




         เหตุผลที่เลือกชิ้นนี้เพราะ โดยส่วนตัวแล้วนิสิตชอบภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นอย่างมาก ในหลายๆฉาหหลายๆตอนสะท้อนอารมณ์ความรัก ความคิดถึง การพรากจากกัน ระยะเวลาที่ผ่านที่ล่วงเลย การรอคอยคนรัก ในตัวเนื้อเรื่องมีการลำดับภาพที่ดี ทั้งเสียงการบรรยาย เป็นภาพยนตร์สยองขวัญพูดง่ายๆคือเป็นหนังผีที่นิสิตดูแล้วรู้สึกเลยว่าไม่ได้ดูหนังผีแต่กำลังดูหนังรัก เพียงแค่ว่าตอนจบไม่Happy Endingก็เท่านั้นเอง


     จริงๆแล้วก่อนตัวอย่างหนังจะฉายหรือจะเข้าโรงก็ต้องมีPoster หนังออกมาก่อน นิสิตได้ดูหนังแล้วจึงชอบPoster นี้มาก แต่พูดตามหลักความเป็นจริงคือ คนทั่วไปต้องเห็นPoster ก่อนที่จะได้ดูหนังPosterหนังจึงจำเป็นที่จะต้องมีการ ออกแบบให้สอดคล้อง ดึงดูด หรือมีความน่าสนใจให้ผู้บริโภคอยากที่จะติดตาม หรือเข้าชมภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ
     
    และPoster นางนากชิ้นนี้เอง ที่นิสิตมีความสนใจและประทับใจอย่างมาก คือ ผู้ออกแบบมีการใช้สีที่แสดงให้เห็นถึงความน่ากลัวของนางนากการตายที่ใช้สีดำ ทรงผมที่บ่งบอกให้รู้ว่าเป็นยุคสมัยที่เก่า การจัดองค์ประกอบของภาพมีการวางตัวนางนากในมุมที่เด่นชัด ท้อยคำภาษาที่บอกว่า "จำพรากจากผัวรัก ประหนึ่งน้ำตานางดั่งสายเลือด" เป็นประโยคที่วางอยู่กลางบนPoster  และสายตาของผู้บริโภคก็จะมองมาที่ตัวนางนากเห็นเป็น น้ำตาที่เป็นสายเลือด จุดนี้เองที่นิสิตประทับใจอย่างมาก คือแม้อาจจะเป็นเพียงน้ำตา แต่มันเป็นน้ำตาของการพรากจากกัน ความรักที่ต้องแยกจากตายจากไป เหมื่อนหัวใจของนางสลายแตก เหมื่อนกับ ท้องฟ้าที่เคยสดใส ต้นไม้ที่เคยพลิ้วไหว กลับกลายเป็นท้องฟ้าที่มืดดำและต้นไม้ที่แห้งตาย การวางองค์ประกอบอาจจะดูเรียบง่ายคือมีแค่ตัวนางนาก ประโยคถ้อยคำและพื้นหลังที่เป็นท้องฟ้าและทุ่งหญ้า แต่รู้มั้ยว่าในPoster นี้บ่งบอกเรื่องราวได้มากมายทุกอย่างมีที่มา
    
     นิสิตจึงเกิดความประทับใจในPoster ชิ้นนี้เป็นอย่างมาก และเมื่อได้ชมภาพยนตร์จบ ก็เข้าใจถึงPosterทุกชิ้นที่ออกแบบมา แต่ชิ้นนี้หละ ประทับใจสุดๆไปเลย

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

คู่สร้างคู่สม

วิเคราะห์อิทธิพลหรือบทบาทของสิ่งพิมพ์ ที่มีต่อชุมชน/สังคมไทย/สังคมโลก
            คู่สร้างคู่สมเป็นนิตยสารที่รวมเรื่องราวของคนทางบ้านที่มาแชร์ประสบการณ์และความรู้สึกต่อเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น แต่ละเล่มจะผลัดเปลี่ยนกันไป จัดเป็นหนังสือความรู้ที่ดี สามารถนำไปประกอบการอ้างอิงในเรื่องต่างๆได้ มีเรื่องราวจากทั่วทุกมุมโลกประสบการณ์จากต่างๆแดน หรือ คนไทยที่ไปอยู่ต่างแดนก็สามารถแชร์ประสบการณ์ผ่านนิตยสารคู่สร้างคู่สมได้  ในแต่ละปักษ์จะมีหัวข้อที่น่าสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป และสิ่งหนึ่งที่เป็นที่นิยมอ่านกันนั้นก็คือหัวข้อ ดวง

<!--[if !vml]--><!--[endif]-->
ดวงในคอลัมน์คู่สมกับราศี จากหนังสือคู่สร้างคู่สม 





                     แทบจะทุกคนที่อ่านคู่สร้างคู่สมจะต้องเปิดดูดวงรายสัปดาห์เป็นที่ติดใจของใครหลายๆคน สิ่งส่งอิทธิพลต่อผู้อ่านเป็นอย่างมากเพราะพื้นฐานของคนไทยชอบเรื่องดวงอยู่แล้วเป็นปกติ แต่เรื่องและหัวข้ออย่างอื่นก็มีบทบาทของตัวเองแตกต่างกัน แต่เรื่องที่เด่นๆเป็นอย่างมากเห็นจะเป็นเรื่องนี้    คอลัมน์ต้นเหตุคู่สร้างคู่สม VS แฟนคลับSJ” ฉบับที่ 639 / 20-31 พ.ค. 2552  หน้าปก จักจั่น+เติ้ล
   
เกิดการทะเลาะกันอย่างหหนัก ระหว่าง ผู้อ่านวัยรุ่นที่ชอบศิลปินเกาหลี กับ ผู้อ่านวัยรุ่นที่เบื่อหน่ายศิลปินเกาหลีคู่สร้างคู่สม 



จาก ::





           เป็นเรื่องที่ผู้อ่านแชร์ประสบการณ์และความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับ ศิลปินเกาหลีที่วัยรุ่นไทยกำลังนิยมชมชอบกันเป็นอย่างมาก คือเด็กไทยชอบศิลปินเกาหลีกันอย่างบ้าคลั้ง คลั่งไคล้กันอย่างไม่พอเหมาะพอดี และแสดงกริยาท่าทางที่เกิดงามเพียงเพราะแค่ศิลปินเกาหลี ยั้กคิ้วหลิ่วตาให้เท่านั้น วัยรุ่นไทยเด็กไทยที่คลั่งไคล้ก็ถึงกับกรี๊ดกร๊าดจะเป็นจะตายเพราะความหล่อ และน่ารัก รวมทั้งคำพูดการกระทำ การใช้จ่ายไปกับศิลปินเกาหลีก็เป็นสิ่งที่ฟุ้มเฟือยแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นความชอบและเป็นสิทธิส่วนบุคคล  เล่าสู่กันฟัง







จาก :: ผู้อ่านวัยรุ่นที่คลั่งใคล้ศิลปินเกาหลี






          แสดงอารมณ์ที่โกรธต่อว่าและด่าผู้อ่านวัยรุ่นมาก ต่อว่าว่าศิลปินไทยไม่มีความสามารถ copy เกาหลีมาหมดและ ผู้อ่านวัยรุ่นคนนี้จะคลั่งใคล้และชื่นชอบศิลปินเกาหลีคุณจะทำอะไรได้ รวมทั้ง เธอยังเหม่ารวมนิตยสารคู่สร้างคู่สม อีกต่างหากว่าเป็นหนังสือชั้นต่ำ ไม่อ่านหลอกหนังสือแบบนี้      

     เรื่องที่เกิดขึ้นมีการต่อว่ากันอย่างมากใน Social Network มีผู้คนเข้ามาตอบกระทู้กันมากมายใน pantip
(อ้างอิงhttp://topicstock.pantip.com/chalermthai/ topicstock/2009/06/A8001242/A8001242.html)                     
     แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเรื่องที่แชร์ประสบการณ์และความคิดรู้สึกของคนในสังคมไทยในปัจจุบันที่เห็นและมองว่าวัยรุ่นในสมัยนี้เป็นอย่างไร ชาติของเราดำเนินไปถึงจุดไหน ค่านิยมของคนสมัยนี้คืออะไร คู่สร้าง-คู่สมจึงเป็นเพียงเวทีเท่านั้นในเรื่องนี้
      แม้ว่ายุคสมัยจะผ่านพ้นไป แต่คู่สร้าง-คู่สม ไม่เคยเปลี่ยน ยังมีเรื่องราวดีๆ ของมุมโลกซีกอื่นๆอีกมาก ที่ผู้อ่านสามารถเปิดอ่านและได้ความรู้ ความคิดต่างๆอีกมากมาย ถ้าผู้อ่านท่านไหนยังไม่เคยอ่าน ลองดูซักครั้งแล้วจะวางไม่ลง



ฝากเล็กๆน้อยๆ

 
         “คู่สร้าง-คู่สมฉบับปฐมฤกษ์ 
วันที่ 1 มกราคม 2523 ด้วยราคา ฉบับละ 8 บาท จำนวนพิมพ์ 100000 ฉบับ
10 วันจะออกเล่มปักษ์ คู่สร้างคู่สม  เป็นนิตยสารที่โด่งดังมากในสมัยนั้น
     ดำรง พุฒตาล (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 - ) นักธุรกิจและนักสื่อสารมวลชน อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เป็นเจ้าของนิตยสารคู่สร้างคู่สม เคยเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์หลายรายการ ทางช่อง 5 เช่น รายการคู่สร้างคู่สม รายการอาทิตย์ยิ้ม รายการพระจันทร์แย้ม สุขสันต์วันเสาร์ ครอบครัวบันเทิง บีอาร์โบนัส ลูกทุ่งสิบทิศ เกมเปิดโลก แม่บ้านที่รัก ฯลฯ ดำรง พุฒตาล เป็นพิธีกรคนแรกของรายการเจาะใจ
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->         ดำรง พุฒตาล เกิดในครอบครัวมุสลิม เป็นพี่ชายคนโตของ มาโนช พุฒตาล นักดนตรี พิธีกร และนักจัดรายการวิทยุ มีน้องสาวคนหนึ่ง แต่เสียชีวิตแล้วด้วยโรคภูมิแพ้ ชื่อ ขนิษฐา พุฒตาล เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์เช่นกัน ขนิษฐาเคยเป็นพิธีกรหญิง รายการมวย คนแรกๆ ของไทย
 (ก่อนหน้า เมทินี กิ่งโพยม)
ในสมัยเรียนหนังสือที่วิทยาลัยครู ดำรง พุฒตาลเคยเป็นนักดนตรี เล่นตำแหน่ง กลองชุด และเคยออกเพลงลูกทุ่งที่ถือว่าดังพอสมควรในยุคหนึ่งกับเพลง "พี่ติดประชุม"








นางสาว ธัชชา วงษ์วัฒนานุรักษ์ รหัสนิสิต 52105010027 

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อสิ่งพิมพ์ที่ชื่นชอบ ^^"

นิตยสาร B.A.D. Magazine






         โดยปกติแล้วดิฉันเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือเลย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร พ็อคเก็ดบุค พูดง่ายๆคือหนอนหนังสือคืออะไรไม่รู้จัก ดิฉันเห็นตัวหนังสือแล้วจะต้องเฟ้าพระอินทร์ทุกครั้งเลยก็ว่าได้ แม้แต่อ่านหนังสือสอบดิฉันก็พยายามขอแบบที่สรุปจากเพื่อน เพราะไม่ชอบที่จะอ่านฉบับเต็ม ดิฉันจะชอบดูรูปภาพประกอบมากกว่าที่จะจดจ้องอยู่กับตัวหนังสือ หนังสือไหนที่มีภาพเยอะๆ นั้นแหละใช่เลย จนบางครั้งคุณพ่อมาบ่นให้ฟังว่า ลูกสาวคนนี้ไม่อ่านหนังสือเลยแล้วจะสอบผ่านไหมนะ..?
 แต่บล็อกนี้พูดถึงหนังสือหนิ……??
คุณคงจะสงสัยว่า แล้วดิฉันมาอยู่ในหัวข้อ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ชื่นชอบนี้ได้อย่างไร
       ดิฉันเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือก็จริงอยู่คะ แต่ใช่ว่าจะมีดิฉันคนเดียวที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ มีกลุ่มคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่เบื่อนิตยสารที่มีแต่รูป และข้อความ คนกลุ่มนี้ชอบที่จะสร้างภาพ สร้างผลงานที่เป็นลักษณะงานศิลป์ งาน PopArt ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ พวกเขาได้รวมตัวกัน  บุคคลที่ชอบการอ่านหนังสือรวมตัวกับบุคคลที่ชอบสร้างสรรค์งานศิลป์ จึงเกิดเป็นนิสยสารเล่มนี้ขึ้น B.A.D. Magazine






      B.A.D. Magazine เป็นนิตยสารวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ชอบและหลงใหลในงานศิลป์ ดิฉันพบนิตยสารนี้ครั้งแรกบนแผงหนังสือ เห็นครั้งแรกก็สะดุดตา ด้วยการออกแบบปกที่ไม่เหมื่อนใคร เป็นรูปรองเท้าผ้าใบ และมีเชือกผูกค้าดไปมาระหว่างปก ซ้าย ขวาเป็นเชือกยี่ห้อ adidas ด้วยการออกแบบที่ไม่เหมื่อนใครและสีสันของกระดาษที่ปก ดิฉันอดใจไม่ได้เลยที่จะเปิดดูข้างใน และดิฉันก็ตกใจกับภาพและสีและผิวสัมผัสของกระดาษที่พิมพ์ขึ้น และแน่นอนที่สุดว่าดิฉันซื้อมันอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นที่รู้กันว่า B.A.D. Magazine จะวางแผง ทุกๆ 3 เดือน  เท่ากับว่า 1 ปี คุรจะได้อ่านนิตยสาร B.A.D. เพียงแค่ 4 เล่ม แต่ใน 4 เล่มนี้ ไม่มีเล่มไหนเลยที่จะไม่สร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้อ่าน มีแต่สร้างความตื่นเต้นและแปลกไหม่ให้แก่ผู้อ่าน
   
     หน้าปกนิตยสาร  B.A.D. Magazine (ตัวอย่าง)





             แม้จะเป็นระยะเวลาที่น้อย แต่ B.A.D. Magazine ก็ได้สร้างปรากฏการร์ไหม่ คือเป็นคัมภีร์แห่งการออกแบบ                     และความคิดสร้างสรรค์ที่เรียกว่าขั้นเทพแปลกตาฉีกกฎเกณฑ์ ทะลุกรอบเป็นนิตยสารของคนไทยที่สร้างปรากฏการณ์ตอบรับจากทุกแผงหนังสืออย่างไม่เคยมีมาก่อนและได้รับการยอมรับในจุดยืนที่แข็งแกร่งทั้งนอกและใน



    ถ้าพูดถึงนิตยสารแนวศิลปะความคิดสร้างสรรค์คงหนีไม่พ้นหนึ่งสื่อเล่มนี้ B.A.D. Magazine ย่อมาจาก (Brand Advertising Design  สมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพ (Bangkok Art Directors Association) นิตยสารเล่มนี้ได้รับการความนิยมอย่างมากในหมู่คนรักงานกราฟฟิคและชาวครีเอทีฟ(หมู่คนรักงานสร้างสรรค์) เพราะมีการออกแบบหน้าปกที่ดึงดูดความสนใจและสะดุดตาผู้บริโภคได้อย่างไม่คาดคิด เพียงแว๊บแรงที่เห็นคุณก็จะต้องหยิบนิตยสารเล่มนี้ขึ้นมาเปิดอ่านพลิ้กดูด้านนอกและใน ด้วยราคาที่ไม่แพงและใช้กระดาษอาร์ต พิมพ์สีทั้งเล่ม รวมแล้ว 124 หน้า ที่สอดแทรกเนื้อหาความน่าสนใจไว้ทุกพื้นผิวของกระดาษ นิตยสาร B.A.D.นี้มีการนำเสนอเนื้อหาแต่ละฉบับที่มีพิเศษตรงที่ว่าจะมีการบอกเล่าบรรยายด้วยภาพที่และเนื้อหาที่อ่านเข้าใจได้ง่ายไม่น่าเบื่อ ทุกตารางนิ้วของกระดาษจะเต็มไปด้วยภาพงานศิลปะกราฟฟิคที่สอดคล้องกับตัวเนื้อเรื่องออกแบบงานที่มีความแปลกใหม่ แม้ว่าบอกหัวข้อเรื่องอาจจะธรรมดาแต่ภาพกราฟฟิคที่สื่อออกมาทำหัวข้อนั้นน่าอ่านน่าสนใจมากกว่าเดิม ทุกลายละเอียดทุกลายเส้นทุกสี มีความบรรจงวาดออกแบบเพื่อหมู่คนรักงานศิลปะเป็นอย่างมาก




   นิตยสารเล่มละ 100 บาทวางแผงทุกๆ 3 เดือน ถ้าคุณเป็นคนชอบงานศิลปะอยากที่จะพัฒนาฝีมือของตัวคุณเองที่แสดงออกในแบบที่ไม่เหมื่อนใครและมีความแปลกใหม่ที่สำคัญคือออกแบบโดยคนไทยคุณก็ไม่ควรพลาดแต่ถ้าคุณเป็นคนชอบงานศิลปะแต่คุณไม่มีใจที่จะแลก คุณก็วางนิตยสารเล่มนี้และเก็บเงิน 100 บาทของคุณไป เพราะดิฉันเชื่อว่า มีคนที่จะยอมแลกเงิน 100 บาทกับงานศิลปะเล่มนี้ B.A.D. Magazine



นางสาวธัชชา วงษ์วัฒนานุรักษ์  รหัสนิสิต 52105010027
มหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร  คณะศึกษาศาสตร์ เอกเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา